Back to Top

    หน้าที่ความรับผิดชอบ
ข้อมูลเมื่อ : 1 ต.ค. 58    เข้าชม 2824 ครั้้ง  

หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน

หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน มีหน้าที่ในการบริหารงานตรวจสอบภายในให้สัมฤทธิ์ผล มีประสิทธิภาพ เพื่อให้งานตรวจสอบภายในสามารถสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับส่วนราชการ โดยปฏิบัติหน้าที่ต่อไปนี้

1. จัดทำวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ขอบเขตของการตรวจสอบภายใน การวางแผนการตรวจสอบระยะยาว แผนการตรวจสอบประจำปี และงบประมาณประจำปี พร้อมทั้งรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนการตรวจสอบและงบประมาณที่วางไว้

2. จัดทำแนวการตรวจสอบ (Audit Program) ประเมินความเสี่ยงและความมีประสิทธิภาพของระบบการควบคุมภายในขององค์กรและคุณภาพของการปฏิบัติงาน

3. จัดทำและพัฒนาคู่มือการตรวจสอบภายใน

4. ประเมินความเชื่อถือได้และความครบถ้วนถูกต้องของข้อมูลด้านการเงินและข้อมูลด้านการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามนโยบาย เป้าหมาย วัตถุประสงค์ แผนงานและระเบียบวิธีปฏิบัติขององค์กร และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งให้คำปรึกษา ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ แนวทางในการปฏิบัติตามระเบียบ คำสั่ง และการควบคุมภายในขององค์กร

5. วิเคราะห์และประเมินประสิทธิภาพการควบคุมภายในของหน่วยรับตรวจ

6. ดำเนินการตรวจสอบภายในตามแผนงานตรวจสอบที่วางไว้

7. สอบทานวิธีการใช้และวิธีการป้องกันทรัพย์สินเสียหาย และประเมินการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ประหยัดและมีประสิทธิภาพ โปร่งใสสามารถตรวจสอบได้

8. สอบทานกระดาษทำการ ในขั้นตอนการปฏิบัติงานตรวจสอบ และผลการตรวจสอบพร้อมเอกสารหลักฐานประกอบการตรวจสอบมีความถูกต้อง ชัดเจนและเชื่อถือได้

9. สอบทานรายงานผลการตรวจสอบ วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบ พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะ เพื่อการแก้ไขปรับปรุง และจัดทำรายงานผลการตรวจสอบเสนอผู้บริหาร

10. ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภายในและภายนอกองค์กร ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบ

11. คัดเลือก/สรรหาบุคลากร และพัฒนาบุคลากรในกลุ่มงานตรวจสอบภายในให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ และการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในกลุ่มงานตรวจสอบภายใน

12. บริหารสำนักงานตรวจสอบภายใน และกำกับดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ เพื่อให้งานตรวจสอบบรรลุถึงวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพ

13. งานอื่นๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย



เจ้าหน้าที่งานตรวจสอบภายใน

1. รวบรวม/สำรวจข้อมูลต่างๆ เบื้องต้นและจัดเตรียมข้อมูลเอกสารต่างๆ ของหน่วยรับตรวจ

2. ศึกษา วิเคราะห์และประเมินประสิทธิภาพการควบคุมภายในจากข้อมูล เอกสาร หลักฐานต่างๆ การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์การปฏิบัติงานของหน่วยรับตรวจ

3. วางแผนงานตรวจสอบด้านการบริหารการเงินและบัญชี จัดตารางเวลา(Times Schedule) และกำหนดจำนวนผู้ตรวจสอบที่ต้องการใช้ในการตรวจสอบ เพื่อให้การปฏิบัติงานสำเร็จตามแผนการตรวจสอบที่วางไว้

4. จัดทำกระดาษทำการ เพื่อใช้ในขั้นตอนการปฏิบัติงานตรวจสอบ และเอกสาร หลักฐานประกอบการตรวจสอบมีความถูกต้อง ชัดเจนและเชื่อถือได้

5. ปฏิบัติงานตรวจสอบภายในตามแผนงานตรวจสอบที่ได้รับความเห็นชอบแล้ว

6. สรุปผลและรวบรวมข้อมูล หลักฐานต่างๆ จากกระดาษทำการที่ได้จากการปฏิบัติงาน ตรวจสอบ นำเสนอรายงานต่อหัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายใน ทั้งในระหว่างปฏิบัติงานตรวจสอบและเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานตรวจสอบแล้ว

7. การติดตามและประเมินผลการรายงานที่เสนอแนะหน่วยรับตรวจ ว่าได้ปฏิบัติหรือยังมิได้มีการปฏิบัติ เพื่อเสนอให้ผู้บริหารสั่งการอีกครั้ง โดยเฉพาะกรณีที่เป็นเรื่องเร่งด่วนที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่องค์กร

8. วิเคราะห์และจัดทำงบประมาณของหน่วยตรวจสอบภายใน

9. ประสานงานกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกองค์กร ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบภายใน ปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายใน

10. งานอื่นๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย



เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

1. ควบคุมดูแลงานสารบรรณของหน่วยงาน

2. จัดทำทะเบียนคุมเอกสารทางการเงินของหน่วยรับตรวจ เช่น รายงานการเงินของโครงการต่างๆ

3. จัดทำขออนุมัติซื้อจ้างของหน่วยงาน

4. ควบคุมการใช้จ่ายเงินงบประมาณของหน่วยงาน

5. พิมพ์รายงานผลการตรวจสอบ และหนังสือราชการของหน่วยงาน

6. จัดทำทะเบียนคุมวันลาของบุคลากรในหน่วยงาน

7. จัดทำงานประกันคุณภาพ

8. ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภายใน และภายนอก

9. งานอื่นๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย



หน่วยตรวจสอบภายใน  มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี  
อาคารวิทยาภิรมย์ (อาคาร 14)  ชั้น M
38  หมู่ 8   ถนนหาดเจ้าสำราญ  ตำบลนาวุ้ง  อำเภอเมือง  จังหวัดเพชรบุรี  76000
โทรศัพท์ : 0-3270-8628
อีเมล์ : audit_pbru@hotmail.co.th

    online  4  user
วันนี้ 
00000091  
ทั้งหมด 
00032732  
Copyright © 2015 หน่วยตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี All Rights Reserved.